ราคาพลังงาน อาหารสด ลด ทำเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.ติดลบ 0.25 % ต่อเนื่อง 3 เดือน
สนค.เผย เงินเฟ้อ เดือนมิ.ย. 2568 ติดลบ 0.25 % ต่อเนื่องมา 3 เดือน ลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน อาหารสดบางรายการ ยันยังไม่เข้าเงินฝืด คาดเดือนหน้ายังลงต่อ คงเป้าทั้งปี 0.0 – 1.0 % ค่ากลาง 0.5 %
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เงินเฟ้อ เดือนมิ.ย. 2568 ติดลบ 0.25 % ต่อเนื่องมา 3 เดือน โดยปัจจัยหลักมาจากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง และค่ากระแสไฟฟ้า ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดหลายรายการโดยเฉพาะไข่ไก่ ผักสด และผลไม้สด ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก อย่างไรก็ดี ยังมีสินค้าอาหารบางรายการที่มีราคาสูงขึ้น อาทิ เนื้อสุกร และอาหารสำเร็จรูป สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก
ทั้งนี้เงินเฟ้อเดือน มิ.ย.ติดลบ 0.25 % มาจาก หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 1.45 % จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มพลังงาน (ค่ากระแสไฟฟ้า แก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน) ของใช้ส่วนบุคคล (แชมพู สบู่ถูตัว ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว โฟมล้างหน้า ยาสีฟัน) สิ่งที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด (น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม) และเสื้อผ้า (เสื้อยืดบุรุษและสตรี เสื้อเชิ้ตบุรุษและสตรี กางเกงขายาวบุรุษ) ขณะที่มีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ค่าเช่าบ้าน ค่าแต่งผมบุรุษและสตรี และค่าอาหารสัตว์เลี้ยง
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 1.64 % จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มอาหารสำเร็จรูป (ข้าวราดแกง กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว) กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ (เนื้อสุกร ปลานิล ปลาทู) กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ (ร้อน/เย็น) น้ำอัดลม)
กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช กะทิสำเร็จรูป มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) น้ำพริกแกง) และกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาล (ขนมหวาน น้ำตาลมะพร้าว) อย่างไรก็ตาม มีสินค้าหลายรายการที่ราคาลดลง โดยเฉพาะไข่ไก่ ผักสด (มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ต้นหอม ถั่วฝักยาว ขิง มะนาว) ผลไม้สด (ทุเรียน ส้มเขียวหวาน มะม่วง แตงโม องุ่น) ไก่ย่าง และอาหารโทรสั่ง (Delivery)
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้น 1.06 % ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนพ.ค. 2568 ที่สูงขึ้น 1.นายพูนพงษ์ กล่าวว่า สำหรับเงินเฟ้อเดือน ก.ค. คาดว่าจะลดลงอีก แต่ไม่มีสัญญาณเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ซึ่งเงินเฟ้อที่ลดลงมาจากราคาน้ำมันและราคาอาหารสดบางชนิดที่ลดลง ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสที่ 3 ปี 2568 คาดว่าจะอยู่ระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 2 ที่อยู่ที่ ติดลบ 0.35 %
โดยเงินเฟ้อใมีปัจจัยสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบดูไบในตลาดโลกต่ำกว่าปีก่อนหน้า เนื่องจากสถานการณ์ในตะวันออกกลางผ่อนคลายลง หลังจากมีการทำข้อตกลงหยุดยิง ซึ่งช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของความขัดแย้ง ภาครัฐมีแนวโน้มดำเนินมาตรการช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับลดค่า Ft งวดเดือนพ.ค. – ส.ค. 2568 ลง 17 สตางค์ ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าลดลงเหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย09 %
รวมทั้งฐานราคาผักสดในปีก่อนหน้าที่อยู่ระดับสูง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ขณะที่ในปี 2568 สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมากขึ้น ทำให้ผลผลิตเข้าสู่ระบบมากขึ้น และ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ตามคาดว่าเงินเฟ้อในไตรมาส 4 จะพลิกกลับมาเป็นบวกได้
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2568 อยู่ระหว่าง 0.0 – 1.0 % ค่ากลาง 0.5 % ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง
สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนพ.ค. 2568 พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยลดลง 0.57 % อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 6 จาก 137 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนจาก 8 ประเทศที่ประกาศตัวเลข ได้แก่บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม สปป.ลาว
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 7 กรกฏาคม 2568