คนอเมริกัน สุดทน นโยบายทรัมป์ตัดงบ-ยุบหน่วยงาน-ขึ้นภาษี ดันคนตกงาน -ค่าครองชีพพุ่ง
คนอเมริกัน สุดทน จุดไฟประท้วง 50 รัฐ- ทั่วโลก นโยบายทรัมป์ ตัดงบ-ยุบหน่วยงาน -ขึ้นภาษีดันคนตกงาน -ค่าครองชีพพุ่ง เงินเฟ้อ
การประกาศนโยบาย ขึ้นภาษีนำเข้าแบบฐานขั้นต่ำในอัตรา 10% จากทุกประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบถูกเก็บภาษีในอัตรา 36%
ในเวลาต่อมา ได้มีเอกสารแนบท้ายประกาศจะมีการปรับแก้ตัวเลขเป็น 37% และมีผลทันทีวันที่9เมษายนนี้ ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าที่นำเข้าเข้าสหรัฐมีราคาที่สูง ผลที่ตามมาคือพลเมืองอเมริกาฯต้องรับกรรม รวมถึงผลกระทบจากเงินเฟ้อ
ที่เป็นไฮไลต์ พลเมืองออกมาประท้วงเป็นวงกว้างทั่วทุกรัฐ กลายเป็นภาพ สะท้อนให้เห็นว่า พลเมืองไม่สามารถนิ่งเฉพาะได้เนื่องจากนโยบาย ทรัมป์ และที่ปรึกษามุ่งเน้นการตัดงบประมาณและหน่วยงานต่างๆที่ไม่จำเป็นออกไป
เป็นชนวนให้ เกิดการตกงาน ทั่วทุกหย่อมหญ้าและหาก มาตรการตั้งกำแพงภาษี มีผลใช้วันที่9 เมษายน แน่นอนว่านอกจากคนที่ไร้งานทำแล้วยังต้องบริโภคสินค้าราคาแพงและผลักดันค่าครองชีพที่สูง มีผลให้ คนอเมริกัน ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจเมริกา ตกต่ำหนัก
ความรุนแรงของอารมณ์คนอเมริกัน เริ่มจุดชนวนขึ้น เมื่อวันที่6 เมษายน 2568 และประเมินว่าจะเกิดการประท้วงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ไม่เอานโยบายทรัมป์และคณะจัดขึ้นภายใต้ชื่อว่า "Hands Off" ซึ่งถือเป็นการแสดงการต่อต้านทรัมป์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
สื่อในสหรัฐฯยังรายงานอีกว่า นอกจากนี้ยังมีชาวอเมริกันหลายพันคนออกมาประท้วงในกรุงวอชิงตัน ดีซี โดยผู้ชุมนุมหลายคนถือป้ายข้อความต่าง ๆ เพื่อแสดงความไม่พอใจผู้นำสหรัฐฯ และมหาเศรษฐีที่ทำงานใกล้ชิดของผู้นำสหรัฐฯ
ที่มีสาเหตุมาจากนโยบายตัดลดงบประมาณหน่วยงานรัฐบาล จนทำให้มีคนตกงานไปแล้วนับแสนคน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปคำสั่งหลายอย่างจนกระทบกับระบบการศึกษา สุขภาพและสาธารณสุข นโยบายด้านการต่างประเทศ รวมถึงนโยบายผู้อพยพ
ขณะที่ผลสำรวจบางสำนักชี้ให้เห็นว่า คะแนนนิยมในตัวผู้นำสหรัฐฯ ลดลงเหลือร้อยละ 43 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ทรัมป์เข้ารับตำแหน่งสมัยที่สองในเดือนมกราคม โดยลดลงมา 4 จุดจากคะแนนนิยมในขณะที่เข้ารับตำแหน่ง
การประท้วงเช่นนี้ไม่ได้มีขึ้นแค่ในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังจัดขึ้นในอีกหลายประเทศ เช่น กรุงปารีสของฝรั่งเศส ผู้ประท้วงหลายร้อยคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันออกมาเคลื่อนไหวแสดงความไม่พอใจผู้นำสหรัฐฯ ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายหลายอย่าง รวมถึงอีกหลายประเทศทั่วโลก
รวมถึง ยังเกิดขึ้นท่ามกลางการเดินหน้ามาตรการกำแพงภาษีของสหรัฐฯ จนทำให้หลายชาติต้องออกมาตรการรับมือและตอบโต้ เช่น จีนที่ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าทุกชนิดจากสหรัฐฯ เพิ่มอีกร้อยละ 34 เพื่อตอบโต้มาตรการกำแพงภาษีระลอกใหม่ของทรัมป์ โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนเป็นต้นไป นอกจากนี้ยังออกข้อจำกัดการส่งออกแร่หายากบางชนิดด้วย
ขณะที่รัฐบาลเวเนซูเอลา ระบุว่า พร้อมที่จะรับมือกับมาตรการกำแพงภาษีของสหรัฐฯ โดยเวเนซูเอลาถูกเรียกเก็บภาษีร้อยละ 15 ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในลาตินอเมริกาถึงร้อยละ 5
ขณะโดนัลด์ ทรัมป์ ปธน.สหรัฐฯ ระบุผ่านทรูธ โซเชียล ว่า
"พวกเรากำลังฟื้นคืนตำแหน่งงานต่าง ๆ และธุรกิจกลับคืนมาอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตอนนี้มีการลงทุนมากกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมย้ำว่า นี่คือการปฏิวัติทางเศรษฐกิจ และเราจะชนะ โดยขอให้ชาวอเมริกันอดทนต่อความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นไว้"
ท่าทีนี้ของผู้นำสหรัฐฯ มีขึ้นหลังจากที่สหรัฐฯ เริ่มบังคับใช้มาตรการเก็บภาษีนำเข้าจากทุกประเทศในอัตราขั้นต่ำร้อยละ 10 ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5เมษายนตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐฯ จนนำมาซึ่งความกังวลให้กับหลายฝ่ายและหลายประเทศ ตลอดจนความกังวลถึงความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจและการค้าโลก
นอกจากมาตรการเก็บภาษีนำเข้าจากทุกประเทศในอัตราขั้นต่ำร้อยละ 10 แล้ว ผู้นำสหรัฐฯ ยังกำหนดมาตรการภาษีตอบโต้แบบรายประเทศในอัตราที่สูงกว่า ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 เมษายน ที่จะถึงนี้เป็นต้นไป
นับตั้งแต่ที่ผู้สหรัฐฯ ออกมาประกาศนโยบายทางภาษีระลอกใหม่ ส่งผลให้ตลาดหุ้นหลายแห่ง ทั้งในเอเชีย รวมถึงสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยวานนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ทั้ง 3 แห่งของสหรัฐฯ ปิดตลาดปรับตัวลดลงมากกว่าร้อยละ 5 ซึ่งถือเป็นสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดของตลาดหุ้นสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2563
ขณะที่ก่อนหน้านี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เตือนว่า มาตรการของทรัมป์ครั้งนี้สร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัว พร้อมทั้งเรียกร้องให้สหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ร่วมมือกันเพื่อลดความตึงเครียดที่เกิดขึ้น
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ 6 เมษายน 2568